Social Icons

Featured Posts

วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2557

อาหารอาเซียนเมนูเด็ดประจำชาติ





มารู้จักอาหารอาเซียนเมนูเด็ดประจำชาติกันเถอะนะ

AEC คืออะไร


AEC-ASEAN
AEC หรือ Asean Economics Community คือการรวมตัวของชาติใน Asean 10 ประเทศ โดยมี ไทย, พม่า, ลาว, เวียดนาม, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, กัมพูชา, บรูไน เพื่อที่จะให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน จะมีรูปแบบคล้ายๆ กลุ่ม Euro Zone นั่นเอง จะทำให้มีผลประโยชน์, อำนาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้าได้มากขึ้น และการนำเข้า ส่งออกของชาติในอาเซียนก็จะเสรี ยกเว้นสินค้าบางชนิดที่แต่ละประเทศอาจจะขอไว้ไม่ลดภาษีนำเข้า (เรียกว่าสินค้าอ่อนไหว)
Asean จะรวมตัวเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและมีผลเป็นรูปธรรม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ณ วันนั้นจะทำให้ภูมิภาคนี้เปลี่ยนไปอย่างมากอย่างที่คุณคิดไม่ถึงทีเดียว
AEC Blueprint (แบบพิมพ์เขียว) หรือแนวทางที่จะให้ AEC เป็นไปคือ
1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน
2.การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง
3. การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน
4. การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก
โดยให้แต่ละประเทศใน AEC ให้มีจุดเด่นต่างๆ ดังนี้
พม่า : สาขาเกษตรและประมง
มาเลเซีย : สาขาผลิตภัณฑ์ยาง และสาขาสิ่งทอ
อินโดนีเซีย : สาขาภาพยนต์และสาขาผลิตภัณฑ์ไม้
ฟิลิปปินส์ : สาขาอิเล็กทรอนิกส์
สิงคโปร์ : สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาสุขภาพ
ไทย : สาขาการท่องเที่ยว และสาขาการบิน (ประเทศไทยอยู่ตรงกลาง ASEAN)
การเปลี่ยนแปลงที่จะเห็นได้ชัดๆใน AEC โดยอธิบายให้เห็นภาพเข้าใจง่ายๆ เช่น
- การลงทุนจะเสรีมากๆ คือ ใครจะลงทุนที่ไหนก็ได้ ประเทศที่การศึกษาระบบดีๆ ก็จะมาเปิดโรงเรียนในบ้านเรา อาจทำให้โรงเรียนแพงๆแต่คุณภาพไม่ดีต้องปรับตัว ไม่เช่นนั้นอาจจะสู้ไม่ได้
- ไทยจะเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว และการบินอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะว่าอยู่กลาง Asean และไทยอาจจะเด่นในเรื่อง การจัดการประชุมต่างๆ, การแสดงนิทรรศการ, ศูนย์กระจายสินค้า และยังเด่นเรื่องการคมนาคมอีกด้วยเนื่องจากอยู่ตรงกลางอาเซียน และการบริการด้านการแพทย์และสุขภาพจะเติบโตอย่างมากเช่นกันเพราะ จะผสมผสานส่งเสริมกันกับอุตสาหกรรรมการท่องเที่ยว (ค่าบริการทางการแพทย์ของประเทศต่างชาติจะมีราคาสูงมากหากเทียบแกับประเทศไทย)
- การค้าขายจะขยายตัวอย่างน้อย 25% ในส่วนของอุตสาหกรรมบางอย่าง เช่น รถยนต์, การท่องเที่ยว, การคมนาคม, แต่อุตสาหกรรมที่น่าห่วงของไทยคือ ที่ใช้แรงงานเป็นหลักเช่น ภาคการเกษตร, ก่อสร้าง, อุตสาหกรรรมสิ่งทอจะได้รับผลกระทบ เนื่องจากฐานการผลิตอาจย้ายไปประเทศที่ผลิตสินค้าทดแทนได้เช่นอุตสาหกรรมสิ่งทอ โดยผู้ลงทุนอาจย้ายฐานการผลิตจากประเทศไทยไปยังประเทศที่มีค่าแรงถูกกว่า เนื่องด้วยบางธุรกิจไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะมากนัก ค่าแรงจึงถูก ( ณ วันที่ 15 ก.ย.56 ค่าแรงหนุ่มสาวโรงงาน ณ ประเทศลาว อยู่ที่ประมาณ 4,000 บาทไทย)
- เรื่องภาษาอังกฤษจะเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก เนื่องจากจะมีคนอาเซียน เข้ามาอยู่ในไทยมากมายไปหมด และมักจะพูดภาษาไทยไม่ค่อยได้ แต่จะใช้ภาษาอังกฤษ (AEC มีมาตรฐานว่าจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางเพื่อสื่อสารใน AEC) บางทีเรานึกว่าคนไทยไปทักพูดคุยด้วย แต่เค้าพูดภาษาอังกฤษกลับมา เราอาจเสียความมั่นใจได้   ส่วนสิ่งแวดล้อมนั้น ป้ายต่างๆ หนังสือพิมพ์, สื่อต่างๆ จะมีภาษาอังกฤษมากขึ้น (ให้ดูป้ายที่สนามบินสุวรรณภูมิเป็นตัวอย่าง) และจะมีโรงเรียนสอนภาษามากมาย หลากหลายหลักสูตร
- การค้าขายบริเวณชายแดนจะคึกคักอย่างมากมาย เนื่องจาก ด่านศุลกากรชายแดนอาจมีบทบาทน้อยลงมาก แต่จะมีปัญหาเรื่องยาเสพติด และปัญหาสังคมตามมาด้วย
- เมืองไทยจะไม่ขาดแรงงานที่ไร้ฝีมืออีกต่อไปเพราะแรงงานจะเคลื่อนย้ายเสรี จะมี ชาวพม่า, ลาว, กัมพูชา เข้ามาทำงานในไทยมากขึ้น แต่คนเหล่านี้ก็จะมาแย่งงานคนไทยบางส่วนด้วยเช่นกัน  และยังมีปัญหาสังคม, อาชญากรรม จะเพิ่มขึ้นอีกด้วย อันนี้รัฐบาลควรต้องวางแผนรับมือ
- คนไทยที่ใช้ภาษาอังกฤษได้ บางส่วนจะสมองไหลไปทำงานเมืองนอก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมซอร์ฟแวร์ (ที่จะให้สิงคโปร์เป็นหัวหอกหลัก) เพราะชาวไทยเก่ง แต่ปัจจุบันได้ค่าแรงถูกมาก อันนี้สมองจะไหลไปสิงคโปร์เยอะมาก แต่พวกชาวต่างชาติก็จะมาทำงานในไทยมากขึ้นเช่นกัน อาจมีชาว พม่า, กัมพูชา เก่งๆ มาทำงานกับเราก็ได้ โดยจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลาง  บริษัท software ในไทยอาจต้องปรับค่าจ้างให้สู้กับ บริษัทต่างชาติให้ได้ ไม่เช่นนั้นจะเกิดภาวะสมองไหล
- อุตสาหกรรมโรงแรม, การท่องเที่ยว, ร้านอาหาร, รถเช่า บริเวณชายแดนจะคึกคักมากขึ้น เนื่องจากจะมีการสัญจรมากขึ้น และเมืองตามชายแดนจะพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเป็นจุดขนส่ง
- สาธารณูปโภคในประเทศไทย หากเตรียมพร้อมไม่ดีอาจขาดแคลนได้ เช่น ชาวพม่า มาคลอดลูกในไทย ก็ต้องใช้โรงพยาบาลในไทยเป็นต้น
- กรุงเทพฯ จะแออัดอย่างหนัก เนื่องจากมีตำแหน่งเป็นตรงกลางของอาเซียนและเป็นเมืองหลวงของไทย โดยเมืองหลวงอาจมีสำนักงานของต่างชาติมาตั้งมากขึ้น รถจะติดอย่างมาก สนามบินสุวรรณภูมิจะแออัดมากขึ้น (ปัจจุบันมีโครงการที่จะขยายสนามบินแล้ว)
- ไทยจะเป็นศูนย์กลางอาหารโลกในการผลิตอาหาร เพราะ knowhow ในไทยมีเยอะประสบการณ์สูง และบริษัทอาหารในไทยก็แข็งแกร่ง ประกอบทำเลที่ตั้งเหมาะสมอย่างมาก แม้จะให้พม่าเน้นการเกษตร แต่ทางประเทศไทยเองคงไปลงทุนในพม่าเรื่องการเกษตรแล้วส่งออก ซึ่งก็ถือเป็นธุรกิจของคนไทยที่ชำนาญอยู่แล้ว
- ไทยจะเป็นศูนย์การการท่องเที่ยว และคมนาคมอย่างไม่ต้องสงสัย หากผู้ประกอบธุรกิจในไทยที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจนี้ปรับตัวและเตรียมพร้อมดีก็จะได้ประโยชน์จากการเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและคมนาคม
- ปัญหาสังคมจะรุนแรงถ้าไม่ได้รับการวางแผนที่ดี เนื่องจาก จะมีขยะจำนวนมากมากขึ้น, ปัญหาการแบ่งชนชั้น ถ้าคนไทยทำงานกับคนต่างชาติที่ด้อยกว่า อาจมีการแบ่งชนชั้นกันได้, จะมีชุมชนสลัมเกิดขึ้น และอาจมี พม่าทาวน์, ลาวทาวน์, กัมพูชาทาวน์, ปัญหาอาจญากรรมจะรุนแรง สถิติการก่ออาชญากรรมจะเพิ่มขึ้นอย่างมากจากชนนั้นที่มีปัญหา, คนจะทำผิดกฎหมายมากขึ้นเนื่องจากไม่รู้กฎหมาย
การขนส่งที่จะเปลี่ยนแปลง  East-West Economic Corridor (EWEC)หรือเส้นทางหมายเลข 9 (R9) ชื่อไทยว่า เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก
east west economic corridor R9
คลิ๊กเพื่อดูรายละเอียดของ East-West Economic Corridor
จะมีการขนส่งจากท่าเทียบเรือทางทะเลฝั่งขวาไปยังฝั่งซ้าย เวียดนาม-ไทย-พม่า มีระยะทางติดต่อกันโดยประมาณ 1,300 กม.อยู่ในเขตประเทศไทยถึง 950 กม. ลาว 250 กม. เวียนดนาม 84 กม.เส้นทางเริ่มที่ เมืองท่าดานัง ประเทศเวียดนาม ผ่านเมืองเว้และเมืองลาวบาว ผ่านเข้าแขวงสะหวันนะเขตในประเทศลาว และมาข้ามสะพานมิตรภาพ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) ข้ามแม่น้ำโขงสู่ไทยที่จังหวัดมุกดาหาร ผ่านจังหวัดกาฬสินธุ์, ขอนแก่น, เพชรบูรณ์, พิษณุโลก สุดที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จากนั้นเข้าไปยังประเทศพม่าไปเรื่อยๆ ถึงอ่าวเมาะตะมะ ที่เมืองเมาะลำไย หรือมะละแหม่ง เป็นการเชื่อมจากทะเลจีนใต้ไปสู่อินเดีย
เส้นทาง R9 นี้จะทำให้การขนส่งรวมถึง logistic ใน AEC จะพัฒนาอีกมาก และจากาการที่ไทยอยู่ตรงกลางภูมิภาค ทำให้เราขายสินค้าได้มากขึ้นเพราะเราจะส่งของไปท่าเรือทางฝั่งซ้ายของไทยก็ได้ ทางฝั่งขวาก็ได้ ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ในไทยบริเวณดังกล่าวก็น่าจะมีราคาสูงขึ้นด้วย
และที่พม่ายังมี โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ หรือโครงการ “ทวาย” (ศูนย์อุตสาหกรรมขนาดใหญ่,ท่าเรือขนาดใหญ่ ที่ปัจจุบัน Italian-Thai Development PLC ได้รับสัมปทานในการก่อสร้างแล้ว ปัจจุบันได้หยุดการพัฒนาชั่วคราวเพื่อรอผู้ร่วมลงทุนในการพัฒนาโครงการ ข้อมูล ณ 27 เม.ย.2557) โครงการทวายมีเป้าหมายที่จะสร้างท่าเรือน้ำลึก และนิคมอุตสาหกรรมบนพื้นที่ประมาณ 250 ตารางกิโลเมตร ในภาคใต้ของพม่า ซึ่งมีโครงการก่อสร้างโรงถลุงเหล็ก โรงงานปุ๋ย โรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงกลั่นน้ำมัน ในระยะถัดไปอีกด้วย
ซึ่งโครงการทวาย มีที่เส้นทางสอดคล้องกับ East-West Economic Corridor จะกลายเป็นทางออกสู่ทะเลจุดใหม่ที่สำคัญมากต่ออาเซียน เพราะในอดีตทางออกสู่มหาสมุทรอินเดียจำเป็นต้องใช้ท่าเรือของสิงคโปร์เท่านั้น ขณะเดียวกันโปรเจกต์ทวายนี้ยังเป็นต้นทางรับสินค้าจากฝั่งมหาสมุทรอินเดียหรือสินค้าที่มาจากฝั่งยุโรปและตะวันออกกลาง โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มพลังงานไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ก๊าซ ซึ่งจะถูกนำเข้าและแปรรูปในโรงงานปิโตรเคมีภายในพื้นที่โปรเจกต์ทวาย เพื่อส่งผ่านไทยเข้าไปยังประเทศกลุ่มอินโดจีนเช่น ลาว กัมพูชา และไปสิ้นสุดปลายทางยังท่าเรือดานังประเทศเวียดนาม และจะถูกส่งออกไปยังเอเชียตะวันออกอย่างญี่ปุ่นและจีน
ทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งที่เราควรจะเตรียมตัวแต่เนิ่นๆ ที่สำคัญตอนนี้คือ ภาษาอังกฤษ อย่างน้อยๆเราก็จะได้สื่อสารกันกับ Asean ได้ เพราะหากสื่อสารไม่ได้ เรื่องอื่นก็คงยากที่จะทำ และกาคิดจะหาลูกค้าแค่ในประเทศไทยก็อาจไม่เพียงพอแล้ว เพราะธุรกิจต่างชาติก็จะมาแย่งส่วนแบ่งการตลาดของเราแน่นอน เรื่อง AEC จึงถือเป็นเรื่องใหญ่ ที่ธุรกิจ และคนไทยต้องปรับตัวและเตรียมพร้อมให้ดี


อ่านต่อ: http://www.thai-aec.com/41#ixzz39Xbe6WdA

อาเซียนคืออะไร

อาเซียน คือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) โดยการจัดตั้งในครั้งแรกมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมและร่วมมือในเรื่องสันติภาพ, ความมั่นคง, เศรษฐกิจ, องค์ความรู้, สังคมวัฒนธรรม บนพื้นฐานความเท่าเทียมกันและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก
อาเซียน ได้ก่อตั้งขึ้นโดย ปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยมีผู้ร่วมก่อตั้ง 5 ประเทศคือ
1.ไทย โดย พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศ)
2.สิงคโปร์ โดย นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศ)
3.มาเลเซีย  โดย ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ)
4.ฟิลิปปินส์ โดย นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศ)
5.อินโดนีเซีย โดย นายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศ)
ต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าร่วมเป็นสมาชิกเพิ่มเติม คือ  8 ม.ค.2527 บรูไนดารุสซาลาม, 28 ก.ค. 2538  เวียดนาม, 23 ก.ค. 2540 สปป.ลาว และ พม่า, 30 เม.ย. 2542 กัมพูชา ทำให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ
คำขวัญอาเซียน  คือ หนึ่งวิสัยทัศน์, หนึ่งอัตลักษณ์, หนึ่งประชาคม (One Vision, One Identity, One Community)
สัญลักษณ์อาเซียน
asean-symbol
รูปรวงข้าวสีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้ำเงิน
-รูปรวงข้าวสีเหลือง 10 ต้น มัดรวมกันไว้ หมายถึง ประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
-พื้นที่วงกลม สีแดง สีขาว และน้ำเงิน ซึ่งแสดงถึงความเป็นเอกภาพ
-ตัวอักษรคำว่า “asean” สีน้ำเงิน อยู่ใต้ภาพรวงข้าวอันแสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อความมั่นคง สันติภาพ เอกภาพ และความก้าวหน้าของประเทศสมาชิกอาเซียน
สีน้ำเงิน  หมายถึง   สันติภาพและความมั่นคง
สีแดง     หมายถึง   ความกล้าหาญ และความก้าวหน้า
สีขาว      หมายถึง   ความบริสุทธิ์
สีเหลือง  หมายถึง   ความเจริญรุ่งเรือง
อาเซียน รวมตัวกันเพื่อ ความร่วมมือกันทางการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม และได้มีการพัฒนาการเรื่อยมา จนถึงขณะนี้ที่เรามีกฎบัตรอาเซียน (ธรรมนูญ อาเซียน หรือ ASEAN Charter) ซึ่งเป็นเสมือนแนวทางการดำเนินงานที่จะนำไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนซึ่งประกอบด้วย 3 เสาหลัก คือ
1.การเมืองความมั่นคง
2.เศรษฐกิจ (AEC)
3.สังคมและวัฒนธรรม
ซึ่งทั้งหมดนี้ก็มีพัฒนาการไปด้วยกัน โดยเหตุที่คนส่วนใหญ่มักจะพูดถึงแต่ AEC ซึ่งก็คือด้านเศรษฐกิจหรือ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” คงเป็นเพราะว่าเรื่องเศรษฐกิจเป็นเรื่องที่ดูจะจับต้องได้มากกว่าเรื่องอื่นๆ  อีกทั้งในการขับเคลื่อนส่วนใหญ่แล้วที่มักจะก้าวไปเร็วกว่าส่วนอื่นๆ ก็คือภาคธุรกิจ ดังนั้นคนอาจจะรับรู้เรื่อง AEC มากกว่ามิติความร่วมมืออื่นๆ ของอาเซียน
อย่างไรก็ดีความร่วมมือทั้ง 3 เสาหลักของอาเซียนก็มีความสำคัญด้วยกันทั้งสิ้น เพราะการสร้างประชาคมอาเซียนย่อมหมายถึงการร่วมมือและหลอมรวมกันในทุกมิติ และแต่ละมิติก็ล้วนมีความสำคัญและส่งเสริมซึ่งกันและกัน เราคงไม่อาจผลักดันความร่วมมือทางเศรษฐกิจได้หากปราศจากความมั่นคงทางการเมือง หรือความเข้าใจกันของคนในอาเซียน
ขณะนี้มีความเข้าใจคลาดเคลื่อน เรื่องการเปิดเสรีแรงงานในอาเซียนจะทำได้อย่างอิสระ ตัวอย่างเช่น แรงงานสามารถข้ามฝั่งโขงไปก็หางานทำอีกประเทศหนึ่งได้เลย ข้อเท็จจริง ไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะการเปิดเสรีด้านแรงงานที่อาเซียนได้เจรจากันครอบคลุมเฉพาะในส่วนของแรงงานมีฝีมือ ขณะนี้อาเซียนได้จัดทำข้อตกลงยอมรับร่วมในคุณสมบัติวิชาชีพเพียง 7 สาขา คือ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล นักบัญชี วิศวกร สถาปนิก และชำงสำรวจ แต่การที่แรงงานมีฝีมือใน 7 สาขาดังว่าจะเข้ามาทำงานในประเทศต่างๆ ในอาเซียนได้ จะต้องทำตามขั้นตอนและกฎระเบียบภายในประเทศต่างๆ อยู่ดี เช่น หากต้องการทำงานในไทยก็ต้องผ่านการสอบใบประกอบวิชาชีพหรือผ่านขั้นตอนการประเมินตามเงื่อนไขภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยเสียก่อน
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของแรงงานไร้ฝีมือไม่อยู่ในขอบเขตของการเปิดเสรีด้านบริการอาเซียน ดังนั้นการเปิดเสรีเป็นคนละส่วนกับปัญหาแรงงานต่างด้าวทั่วไป รวมถึงแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ซึ่งในส่วนนั้นประเทศไทยได้พยายามร่วมมือกับรัฐบาลประเทศเพื่อนบ้านเพื่อแก้ไขปัญหาและจัดระเบียบ
เมื่อไม่นานมานี้มีการสอบถามความตระหนักรู้ของประชาชนใน 10 ประเทศสมาชิกเกี่ยวกับอาเซียน ปรากฏว่า ไทยอยู่ในอันดับท้ายๆ ขณะที่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน (CLMV) อย่าง ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ และเวียดนาม กลับรู้จักและเห็นความสำคัญของอาเซียนมากกว่า เพราะเขาติดตามข่าวสารเกี่ยวกับประเทศไทย ซื้อสินค้าไทย ดูละครไทย และเรียนรู้ภาษาไทยกันมากขึ้น คนไทยเป็นคนเก่ง มีจุดแข็งและมีความโดดเด่นหลายด้าน และไม่ได้ด้อยเรื่องความรู้ความสามารถ แต่ยังมีจุดอ่อนอันดับแรกในเรื่องของภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาทางการของอาเซียน ซึ่งต้องพัฒนาอีกมาก
นอกจากนี้ เราต้องหันมาให้ความสนใจกับประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนด้วยกันเองมากขึ้น ว่าตอนนี้เขาทำอะไรกัน มีพัฒนาการในเรื่องใด มีความแข็งแกร่งและมีจุดอ่อนในเรื่องไหน เพราะเมื่อรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนใน ปี 2558 ประเทศในอาเซียนจะมีการติดต่อกันมากขึ้น
ขณะที่องค์กรต่างๆในประเทศไทย ก็ต้องพัฒนาความรู้และติดตามข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียนในสาขาที่เกี่ยวกับตนเอง เพื่อให้สามารถรับมือกับคู่แข่งจากอีก 9 ประเทศให้ได้ จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับคนไทยและประเทศไทยอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย จึงอยากให้มองว่าปี 2558 ที่อาเซียนจะก้าวสู่การเป็นประชาคม ไม่ได้ถือเป็นจุดสิ้นสุดของอาเซียน แต่เป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญของอาเซียน และเราจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อให้เข้ากับสภาพเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป


อ่านต่อ: http://www.thai-aec.com/418#ixzz39Xb0DFES

วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2557

คำทักทายในอาเซียน





ลองฝึกทักทายภาษาในอาเซียน 

ชุดประจำชาติของประเทศสมาชิกอาเซียน



Brunei.jpg
บรูไน ดารุสซาลาม

ผู้หญิงบรูไนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีสีสันสดใส โดยมากมักจะเป็นเสื้อ
ผ้าที่คลุมร่างกายตั้งแต่ศีรษะ จรดเท้า ผู้หญิงมุสลิมจะสวมผ้าคลุมศีรษะ
ในที่สาธารณะและในสถานที่ราชการ ผู้ชายมุสลิมแต่งกายเป็นทางการ
ทั้งในสถานที่ราชการและที่สาธารณะ คือจะสวมเสื้อแขนยาว ตัวเสื้อยาว
ถึงเข่า นุ่งกางเกงขายาวแล้วนุ่งโสร่ง

Bruneians wear traditional Malay costumes. Men wear
baju melayuand ladies wearbaju kurung.
cambodia.jpg

กัมพูชา

Sampot เป็นเครื่องแต่งกายประจำชาติของประเทศกัมพูชา ซึ่งมี
ความคลายคลึงกับผ้านุ่งของ ลาวและไทย

The traditional Cambodian sampot is a woman's long skirt with
 a fold or pleat in the front, but some sampot styles actually
look more like trousers. It is worn with a modest shirt or
blouse. On special occasions women match the color of their
sampotto the traditional color for that day.
 Cambodian men
 typically wear cotton or silk shirts with short or long sleeves.
 They wear cotton trousers as well.
indonesia.jpg

อินโดนีเซีย

บาติกจัดให้เป็นงานศิลปะและงานฝีมือของประเทศอินโดนีเซียและยังเป็นที่
รู้จักในชุดประจำชาติของ
ประเทศอีกด้วยลวดลายของผ้าบาติกที่มีลักษณะ
ใกล้เคียงกับประเทศอินโดนีเซียสามารถพบได้ใน
ประเทศฟิลิปปินส์
มาเลเซีย และไทย

Kebaya is a traditional blouse-dress combination worn by women
 in Indonesia. It is sometimes made from sheer material and usually
worn with a sarong or batik. Indonesian men generally wear sarongs
 (usually with a checkered pattern) in the home. In public, the sarong
 is worn only when attending Friday prayers at the mosque. For formal
 national occasions, the men wear batik shirts with trousers orteluk
beskap, a combination of the Javanese jacket and sarong.
Lao.jpg

ลาว

ผู้หญิงลาวนุ่งผ้าซิ่นที่ทอเป็นลวดลาย ใส่เสื้อคอกลมแขนกระบอก
หรือแขนยาว สำหรับผู้ชาย มักแต่งกายแบบสากล ถ้าเป็นข้าราชการ
หรือผู้มีฐานะดีนิยมนุ่งโจงกระเบนสวมเสื้อชั้นนอก กระดุมเจ็ดเม็ด
(คล้ายเสื้อพระราชทานของไทย)

Lao women wear the silk skirts, blouses and scarves to attend
important ceremonies. Lao men wear salong, big large pants
or the peasant pants.
Malaysia.jpg

มาเลเซีย

Baju Melayu เป็นชุดประจำชาติของประเทศมาเลเซีย ที่มีความหมายว่า
“เสื้อมาเลย์” ซึ่งประกอบ ไปด้วยเสื้อแขนยาวและกางเกงที่ทำมาจาก
ผ้าไหม ผ้าฝ้าย หรือส่วนผสมของโพลีเอสเตอร์และผ้าฝ้าย โดยชุดแต่ง
กายของผู้หญิงมีชื่อว่า 
baju kurungที่ประกอบด้วยเสื้อคลุมยาว
และกางเกงยาว

Baju Melayu is a traditional Malay outfit for men. The female
version of the bajumelayu is called the baju kurung.

Myanmar.jpg
พม่า

Longyi คือ เครื่องแต่งกายประจำชาติของประเทศพม่าโดยมีการออก
แบบในรูปทรงกระบอกมีความยาว จาก
เอวจรดปลายเท้าการสวมใส่
 
Longyi ใช้วิธีการขมวดผ้าเข้าด้วยกันโดยไม่มัดหรือพับขึ้นมาถึง
หัวเข่าเพื่อความสะดวกในการสวมใส่

The longyi is the Myanmar national dress worn by men as well as
women. It is basically a piece of cloth sown into a cylindrical
tube, slipped over the head by men and stepped into by the women
 and tucked in at the waist. Men and women however fasten their
 longyis at the waist in different ways. Men fold the garment into
 two panels and knot it neatly at waist level
Philippines.jpg

ฟิลิปปินส์

ลักษณะการแต่งกาย คือ ผู้ชายจะนุ่งกางเกงขายาวเสื้อทำด้วยใยสัปปะรด
มีบ่าคอตั้ง แขนยาวด้านหน้า และที่ปลายแขนเสื้อที่ข้อมือจะปักลวดลาย
เรียกเสื้อชนิดนี้ว่า “บารองตากาล๊อก” สำหรับผู้หญิงนุ่ง กระโปรงยาวบาน
สวมเสื้อแขนสั้นจับจีบและยกตั้งขึ้นเหนือไหล่ ดูคล้ายปีกผีเสื้อ เรียกว่า
“บาลินตาวัก”
ต่างหากก็ได้เปิดบ่าข้างหนึ่ง ชายสไบคลุมไหล่
ทิ้งชายด้านหลังยาว

The barong Tagalog (or simply barong) is an embroidered
 formal garment of the Philippines. In Filipino culture it is
a common wedding and formal attire, mostly for men but
 also for women.
Thailand.jpg

ไทย

ชุดไทยจักรี คือชุดไทยประกอบด้วยสไบเฉียงจะเย็ดให้ติดกับซิ่นเป็น
ท่อนเดียวกันหรือจะมีผ้าสไบห่ม

The women's national costume is named the Chakri. It is made up of
Thai silk. The dress includes a back-less and shoulder-less shirt,
a ready-to-wear skirt with Na-nang ( a typical Thai cutting style on
 a center of a skirt), and a shawl which is made by organdy.
The
 men's national costume is known as sue phraratchatan
(royally bestowed shirt).
Vitenam.jpg
เวียดนาม

Ao dai เป็นชุดประจำชาติของประเทศเวียดนามที่ประกอบไปด้วยชุดผ้าไหม
ที่พอดีตัวสวมทับกับ กางเกงขายาว 
Ao dai เป็นชุดที่มักสวมใส่ในงาน
แต่งงานและพิธีการสำคัญในประเทศเวียดนาม

The most popular and widely-recognized Vietnamese national costume
 is the Áo dài, which is worn nowadays mostly by women, although
 men do wear Áo dài on special occasions such as weddings and
 funerals. Áo dài is similar to the Chinese Qipao, consisting of
a long gown with a slit on both sides, worn over silk pants.


                      ข้อมูล:
                      หนังสือบันทึกการเดินทางอาเซียน โดยกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ
                      www.aseancorner.blogspot.com

                      ภาพประกอบ:
                      หนังสือบันทึกการเดินทางอาเซียน โดยกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ

ประวัติความเป็นมาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

Asean Economic Community-AEC
Asean Economic Community History
AEC เป็นการพัฒนามาจากการเป็น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of South East Asian Nations : ASEAN) ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) เมื่อ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีประเทศผู้ก่อตั้งแรกเริ่ม 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมาในปี 2527 บรูไน ก็ได้เข้าเป็นสมาชิก ตามด้วย 2538 เวียดนาม ก็เข้าร่วมเป็นสมาชิก ต่อมา 2540 ลาวและพม่า เข้าร่วม และปี 2542 กัมพูชา ก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกลำดับที่ 10 ทำให้ปัจจุบันอาเซียนเป็นกลุ่มเศรษฐกิจภูมิภาคขนาดใหญ่ มีประชากร รวมกันเกือบ 500 ล้านคน
จากนั้นในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่  9 ที่อินโดนีเซีย เมื่อ 7 ต.ค.  2546  ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้ตกลงกันที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ซึ่งประกอบด้วย3 เสาหลัก คือ
1.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community:AEC)
2.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (Socio-Cultural Pillar)
3.ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (Political and Security Pillar)
คำขวัญของอาเซียน คือ “ One Vision, One Identity, One Community.” หนึ่งวิสัยทัศน์   หนึ่งอัตลักษณ์   หนึ่งประชาคม
เดิมกำหนดเป้าหมายที่จะตั้งขึ้นในปี 2563 แต่ต่อมาได้ตกลงกันเลื่อนกำหนดให้เร็วขึ้นเป็นปี 2558 และก้าวสำคัญต่อมาคือการจัดทำปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Charter) ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 2552 นับเป็นการยกระดับความร่วมมือของอาเซียนเข้าสู่มิติใหม่ในการสร้างประชาคม โดยมีพื้นฐานที่แข็งแกร่งทางกฎหมายและมีองค์กรรองรับการดำเนินการเข้าสู่เป้าหมายดังกล่าวภายในปี 2558
ปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียน รวม 10 ประเทศได้แก่  ไทย พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม ลาว กัมพูชา บรูไน
สำหรับเสาหลักการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC )ภายในปี 2558 เพื่อให้อาเซียนมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ อย่างเสรี และเงินทุนที่เสรีขึ้นต่อมาในปี 2550 อาเซียนได้จัดทำพิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) เป็นแผนบูรณาการงานด้านเศรษฐกิจให้เห็นภาพรวมในการมุ่งไปสู่ AEC ซึ่งประกอบด้วยแผนงานเศรษฐกิจในด้าน ต่าง ๆ พร้อมกรอบระยะเวลาที่ชัดเจนในการดำเนินมาตรการต่าง ๆ จนบรรลุเป้าหมายในปี 2558 รวมทั้งการให้ความยืดหยุ่นตามที่ประเทศสมาชิกได้ตกลงกันล่วงหน้า
ในอนาคต AEC จะเป็นอาเซียน+3 โดยจะเพิ่มประเทศ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เข้ามาอยู่ด้วย และต่อไปก็จะมีการเจรจา อาเซียน+6 จะมีประเทศ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ อินเดียต่อไป

ประเทศอาเซียน 10 ประเทศมีอะไรบ้าง


Asean-AEC-flag
ปัจจุบันประเทศในอาเซียน มีอยู่ 10 ประเทศ โดยมีข้อมูลของแต่ละประเทศดังนี้


1.ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)
เมืองหลวง : บันดาร์ เสรี เบกาวัน
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 66%, จีน11%,อื่นๆ 23%
นับถือศาสนา : อิสลาม 67%, พุทธ 13%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
จุดแข็ง
- การเมืองค่อนข้างมั่นคง
- รายได้เฉลี่ยต่อคนเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน อันดับ 26 ของโลก
- ผู้ส่งออกและมีปริมาณสำรองน้ำมันอันดับ 4 ในอาเซียน
ข้อควรรู้
- ประชาชนของประเทศในกลุ่มอาเซียนสามารถทำวีซ่าที่ ตม.ที่ประเทศบรูไนฯ สามารถอยู่ได้นาน 2 สัปดาห์
- ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าสีเหลือง เพราะถือเป็นสีของพระมหากษัตริย์
- การทักทายจะจับมือกันเบาๆ และสตรีจะไม่ยื่นมือให้บุรุษจับ
- การใช้นิ้วชี้ไปที่คนหรือสิ่งของถือว่าไม่สุภาพ แต่จะใช้หัวแม่มือชี้แทน
- จะไม่ใช้มือซ้ายในการส่งของให้ผู้อื่น
- สตรีเวลานั่งจะไม่ให้เท้าชี้ไปทางผู้ชายและไม่ส่งเสียงหรือหัวเราะดัง
- วันหยุดคือวันศุกร์และวันอาทิตย์, วันศุกร์ 12.00-14.00 น.ทุกร้านจะปิด
- จัดงานเย็นต้องจัดหลัง 2 ทุ่ม
ข้อมูลด้านอื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
เกร็ดความรู้อื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–



2.ประเทศกัมพูชา (Cambodia)
เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ
ภาษา : ภาษาเขมร เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เวียดนามและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวเขมร 94%, จีน 4%,อื่นๆ 2%
นับถือศาสนา : พุทธ(เถรวาท) เป็นหลัก
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
จุดแข็ง
- ค่าจ้างแรงงานต่ำที่สุดในอาเซียน
- มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและสมบูรณ์
ข้อควรรู้
- ผู้ที่เดินทางเข้ากัมพูชา และประสงค์จะอยู่ทำธุรกิจเป็นระยะเวลาเกิน 3 เดือน ควรฉีดยาป้องกันโรคไทฟอยด์ และไวรัสเอและบี
- เพื่อนผู้ชายจับมือกัน ถือเป็นเรื่องปกติ
- ผู้หญิงห้ามแต่งตัวเซ็กซี่, ผู้ชายไว้ผมยาวจะมีภาพลักษณ์ นักเลง
- ห้ามจับศีรษะ คนกัมพูชาถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุดของร่างกาย
- สบตามากเกินไป ถือว่าไม่ให้เกียรติ
ข้อมูลประเทศและการลงทุนฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
ข้อมูลด้านอื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–



3.ประเทศอินโดนีเซีย (Indonesia)
เมืองหลวง : จาการ์ตา
ภาษา : ภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม มีภาษามากกว่า 583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา
นับถือศาสนา : อิสลาม 87%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยที่มีประธานาธิปดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร
จุดแข็ง
- มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- มีจำนวนประชากรมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ข้อควรรู้
- ไม่ควรใช้มือซ้ายในการรับ-ส่งของ คนมุสลิมอินโดนีเซียถือว่ามือซ้ายไม่สุภาพ
- นิยมใช้มือกินข้าว
- ไม่ควรชี้นิ้วด้วยนิ้วชี้ แต่ใช้นิ้วโป้งแทน
- ไม่จับศีรษะคนอินโดนีเซียรวมทั้งการลูบศีรษะเด็ก
- การครอบครองยาเสพติด อาวุธ หนังสือรูปภาพอนาจาร มีบทลงโทษหนัก อาทิ การนำเข้าและครอบครองยาเสพติดมีโทษถึงประหารชีวิต
- บทลงโทษรุนแรงเกี่ยวกับการค้าและส่งออกพืชและสัตว์กว่า 200 ชนิด จึงควรตรวจสอบก่อนซื้อหรือนำพืชและสัตว์ออกนอกประเทศ
- มอเตอร์ไซค์รับจ้างมีมิเตอร์
- งานศพใส่ชุดสีอะไรก็ได้
ข้อมูลประเทศและการลงทุนฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
ข้อมูลด้านอื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
เกร็ดความรู้อื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–



4.ประเทศลาว (Laos)
เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทร์
ภาษา : ภาษาลาว เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวลาวลุ่ม 68%, ลาวเทิง 22%, ลาวสูง 9% รวมประมาณ 68 ชนเผ่า
นับถือศาสนา : 75% นับถือพุทธ, นับถือผี 16%
ระบบการปกครอง : สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบบประชาธิปไตยประชาชน)
จุดแข็ง
- ค่าจ้างแรงงานต่ำอันดับ 2 ในอาเซียน
- การเมืองมีเสถียรภาพ
ข้อควรรู้
- ลาว มีตัวอักษรคล้ายของไทย ทำให้คนไทยอ่านหนังสือลาวได้ไม่ยากนัก ส่วนคนลาวอ่านหนังสือไทยได้คล่องมาก
- ลาวขับรถทางขวา
- ติดต่อราชการต้องนุ่งซิ่น
- เดินผ่านผู้ใหญ่ ต้องก้มหัว
- ถ้าเพื่อนคนลาวเชิญไปพักที่บ้านห้ามให้เงิน
- อย่าซื้อน้ำหอมให้กัน
- ที่ถูกต้องคนลาวที่ให้พัก ต้องแจ้งผู้ใหญ่บ้าน
- เข้าบ้านต้องถอดรองเท้า และถ้าเขาเสิร์ฟน้ำต้องดื่ม
ข้อมูลประเทศและการลงทุนฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
ข้อมูลด้านอื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
เกร็ดความรู้อื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–



5.ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)
เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : อิสลาม 60%, พุทธ 19%, คริสต์ 11%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา
จุดแข็ง
- มีปริมาณสำรองน้ำมันมากเป็นอันดับ 3 ในเอเชียแปซิฟิค
- มีปริาณก๊าซธรรมชาติมากเป็นอันดับ 2 ในเอเชียแปซิฟิค
ข้อควรรู้
- ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะได้รับสิทธิพิเศษ คือ เงินอุดหนุนทางด้านการศึกษา สาธารณสุข การคลอดบุตรงานแต่งงานและงานศพ
- มาเลเซียมีปัญหาประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ในมาเลเซียประกอบด้วยชาวมาเลย์ กว่าร้อยละ 40 ที่เหลืออีกกว่าร้อยละ 33 เป็นชาวจีนร้อยละ10 เป็นชาวอินเดีย และ อีกร้อยละ 10 เป็นชนพื้นเมืองบนเกาะบอร์เนียว
- ใช้มือขวาเพียงข้างเดียวในการรับประทานอาหาร และรับส่งของ
- เครื่องดื่มแอลกฮอล์เป็นเรื่องต้องห้าม
ข้อมูลประเทศและการลงทุนฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
ข้อมูลด้านอื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
เกร็ดความรู้อื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–



6.ประเทศเมียนมาร์ หรือพม่า (Myanmar)
เมืองหลวง : เนปีดอ (Naypyidaw)
ภาษา : ภาษาพม่า เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยเผ่าพันธุ์ 135 มี 8 เชื้อชาติหลักๆ 8 กลุ่ม คือ พม่า 68%, ไทยใหญ่ 8%, กระเหรี่ยง 7%, ยะไข่ 4% จีน 3% มอญ 2% อินเดีย 2%
นับถือศาสนา : นับถือพุทธ 90%, คริสต์ 5% อิสลาม 3.8%
ระบบการปกครอง : เผด็จการทางทหาร ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ
จุดแข็ง
- มีพรมแดนเชื่อมต่อกับจีน และอินเดีย
- ค่าจ้างแรงงานต่ำเป็นอันดับ 3 ในอาเซียน
- มีปริมาณก๊าซธรรมชาติเป็นจำนวนมาก
ข้อควรรู้
- ไม่ควรพูดเรื่องการเมือง กับคนไม่คุ้นเคย
- เข้าวัดต้องถอดรองเท้า ถุงเท้า
- ห้ามเหยียบเงาพระสงฆ์
- ให้นามบัตรต้องยื่นให้สองมือ
- ไม่ควรใส่กระโปรงสั้น กางเกงขาสั้น ในสถานที่สาธารณะและศาสนสถาน
- ผู้หญิงชอบทาทะนาคา (ผู้ชายก็ทาด้วย) ผู้ชายชอบเคี้ยวหมาก
ข้อมูลประเทศและการลงทุนฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
ข้อมูลด้านอื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–



7.ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines)
เมืองหลวง : กรุงมะนิลา
ภาษา : ภาษาฟิลิปิโน และภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็น สเปน, จีนฮกเกี้ยน, จีนแต้จิ๋ว ฟิลิปปินส์ มีภาษาประจำชาติคือ ภาษาตากาล็อก
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : คริสต์โรมันคาทอลิก 83% คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์, อิสลาม 5%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบประธานาธิปดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร
จุดแข็ง
- แรงงานทั่วไป ก็มีความรู้สื่อสารภาษาอังกฤษได้
ข้อควรรู้
- การเข้าไปประกอบธุรกิจในฟิลิปปินส์ในลักษณะต่างๆ เช่น การลงทุนร่วมกับฝ่ายฟิลิปปินส์จำเป็นต้องมีการศึกษาข้อมูลให้ละเอียด โดยเฉพาะในด้านกฎหมาย การจดทะเบียนภาษี และปัญหาทางด้านแรงงาน เป็นต้น
- เท้าสะเอว หมายถึง ท้าทาย, เลิกคิ้ว หมายถึง ทักทาย
- ใช้ปากชี้ของ
- กินข้าวบ้านเพื่อนสามารถห่อกลับได้ แต่ควรมีของฝากให้เขาด้วย
- ตกแต่งบ้าน 2 เดือน ต้อนรับคริสต์มาส
ข้อมูลประเทศและการลงทุนฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
ข้อมูลด้านอื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
เกร็ดความรู้อื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–



8.ประเทศสิงคโปร์ (Singapore)
เมืองหลวง : สิงคโปร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาคือจีนกลาง ส่งเสริมให้พูดได้ 2 ภาษาคือ จีนกลาง และให้ใช้อังกฤษ เพื่อติดต่องานและชีวิตประจำวัน
ประชากร : ประกอบด้วยชาวจีน 76.5%, มาเลย์ 13.8%, อินเดีย 8.1%
นับถือศาสนา : พุทธ 42.5%, อิสลาม 14.9%, คริสต์ 14.5%, ฮินดู 4%, ไม่นับถือศาสนา 25%
ระบบการปกครอง : สาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว) โดยมีประธานาธิปดีเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
จุดแข็ง
- รายได้เฉลี่ยต่อคน เป็นอันดับ 1 ในอาเซียน และอันดับ 15 ของโลก
- แรงงานมีทักษะสูง
ข้อควรรู้
- หน่วยราชการเปิดทำการวันจันทร์ – ศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 น.-13.00 น. และ 14.00 น. – 16.30 น. และวันเสาร์ เปิดทำการระหว่างเวลา 08.00 น. – 13.00 น.
- การหลบหนีเข้าสิงคโปร์และประกอบอาชีพเร่ขายบริการผิดกฎหมาย จะถูกลงโทษอย่างรุนแรง
- การลักลอบนำยาเสพติด อาวุธปืนและสิ่งผิดกฎหมายอื่นๆ จะได้รับโทษอย่างรุนแรงถึงขั้นประหารชีวิต
- ขึ้นบันไดเลื่อนให้ชิดซ้าย
- ห้ามทิ้งขยะเรี่ยราด, ห้ามเก็บผลไม้ในที่สาธารณะ
- ผู้สูงอายุทำงาน ถือเป็นเรื่องปกติ
ข้อมูลประเทศและการลงทุนฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
ข้อมูลด้านอื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
เกร็ดความรู้อื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–



9.ประเทศเวียดนาม (Vietnam)
เมืองหลวง : กรุงฮานอย
ภาษา : ภาษาเวียดนาม เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวเวียด 80%, เขมร 10%
นับถือศาสนา : พุทธนิกายมหายาน 70%, คริสต์ 15%
ระบบการปกครอง : ระบบสังคมนิยม โดยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียว
จุดแข็ง
- มีปริมาณสำรองน้ำมันดิบมากเป็นอันดับ 2 ในเอเชียแปซิฟิค
ข้อควรรู้
- หน่วยงานราชการ สำนักงาน และองค์กรให้บริการสาธารณสุข เปิดทำการระหว่างเวลา 08.00 น. – 16.30 น. ตั้งแต่วันจันทร์ – ศุกร์
- เวียดนามไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพอาคารที่ทำการต่างๆ ของรัฐ
- คดียาเสพติดการฉ้อโกงหน่วยงานของรัฐมีโทษประหารชีวิต
- ตีกลองแทนออดเข้าเรียน
- ชุดนักเรียนหญิงเป็นชุดอ่าวหญ่าย
- คนภาคเหนือไม่ทานน้ำแข็ง
- ไม่ถ่ายรูป 3 คนอย่างเด็ดขาด เพราะถือว่าจะทำให้เบื่อกัน หรือแแยกกันหรือใครคนใดเสียชีวิต
- ต้องเชิญผู้ใหญ่ก่อนทานข้าว
ข้อมูลประเทศและการลงทุนฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
ข้อมูลด้านอื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–



10.ประเทศไทย (Thailand)
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร
ภาษา : ภาษาไทย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวไทยเป็นส่วนใหญ่
นับถือศาสนา : พุทธนิกายเถรวาท 95%, อิสลาม 4%
ระบบการปกครอง : ระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
จุดแข็ง
- เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงคมนาคมด้านต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน
- มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียง
ข้อควรรู้
- ไปศาสนสถานควรแต่งกายเรียบร้อย, ก่อนเข้าอุโบสถต้องถอดรองเท้า
- ห้ามพระสงฆ์สัมผัสสตรี
- สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสัการะ การละเมิดใดๆ ถือเป็นความผิดตามรัฐธรรมนูญ
- ทักทายกันด้วยการไหว้
- ถือว่าเท้าเป็นของต่ำ ไม่ควรพาดบนโต๊ะ หรือเก้าอี้ หรือหันทิศทางไปที่ใคร
- ธงชาติถือเป็นของสูง ไม่ควรนำมากระทำการใดๆที่เป็นการเหยียดหยาม
- การแสดงออกทางเพศในที่สาธารณะ ยังไม่ได้รับการยอมรับในวัฒนธรรมไทย