วันนี้ (11 ก.ย.) นายประเสริฐ บุญเรือง เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย(กศน.) กล่าวถึงกรณีที่นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ(ศธ.) ระบุว่าอาจจะต้องมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์การเทียบระดับการศึกษาขั้นสูงสุดการศึกษาขั้นพื้นฐานของกศน. เพราะอาจส่งผลกระทบต่อการเพิ่มจำนวนผู้เรียนสายอาชีพว่า ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งระดับและการเทียบระดับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2556 ที่ลงนามโดยนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา อดีต รมว.ศธ. เมื่อวันที่ 28 ม.ค.2556 ได้มีการเพิ่มข้อความในวรรคสองของข้อ 2 ของกฎกระทรวงฯฉบับแรก พ.ศ.2546 ว่า “สำหรับผู้เรียนซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ มีประสบการณ์ประกอบอาชีพเป็นหลักแหล่งไม่น้อยกว่า 3 ปี และมีพี้นความรู้ไม่ต่ำกว่าระดับประถมศึกษาอาจนำผลการเรียน ความรู้ ประสบการณ์มาประเมินเทียบระดับการศึกษาสูงสุดของการศึกษาขั้นพื้นฐานประเภทสามัญได้ ทั้งนี้ในการประเมินระดับการศึกษาดังกล่าวให้สำนักงาน กศน.และหน่วยงานกลางทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องซึ่งหมายถึงสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(สทศ).จัดทำมาตรฐานการเรียนรู้ ระดับการศึกษา และเครื่องมือวัดและประเมินผลไม่ต่ำกว่ามาตรฐานการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย” ซึ่งข้อความดังกล่าวมีการกำหนดคุณสมบัติของผู้เรียนที่ชัดเจนอยู่แล้ว แต่หาก รมว.ศธ.เห็นว่า จะมีผลกระทบต่อการเพิ่มจำนวนผู้เรียนสายอาชีวศึกษา สำนักงาน กศน.ก็พร้อมจะปรับปรุงกฎกระทรวงเพื่อเพิ่มอายุของผู้เรียนหรือปรับหลักเกณฑ์ให้มีความรัดกุมยิ่งขึ้นตามนโยบาย เพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ
“จริง ๆ แล้ว การเทียบระดับการศึกษามีมานานแล้วโดยกฎกระทรวงฉบับแรกออกมาตั้งแต่ปี 2546 แต่เป็นการเทียบทีละระดับ ขณะที่การเทียบแบบข้ามระดับได้นี้เพิ่งดำเนินการครั้งแรกปีนี้หลังจากแก้ไขกฎกระทรวงเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนมีทางเลือกมากขึ้น ส่วนใครควรจะเข้ารับการประเมินด้วยระบบใดนั้นต้องเป็นหน้าที่ของศูนย์เทียบระดับที่จะต้องให้คำแนะนำหรือแนะแนวการศึกษาให้ สำหรับอายุเฉลี่ยของผู้ที่เข้ารับการประเมินเทียบระดับจะอยู่ที่ 30-45 ปี ไม่มีคนที่อายุต่ำกว่า 20 ปีแน่นอน เพราะกฎกระทรวงเขียนไว้ชัดเจน คนที่ไม่มีอาชีพก็ไม่สามารถเข้ารับการเทียบระดับได้ รวมถึงเด็กที่ยังไม่มีรายได้ยังต้องพึ่งพาพ่อแม่ก็ไม่สามารถลงทะเบียนเทียบระดับได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นจะไม่มีศูนย์เทียบระดับใดรับผู้ที่ไม่มีคุณสมบัติเข้าโครงการอย่างแน่นอน”นายประเสริฐกล่าว
ที่มา เว็บไซต์เดลินิวส์
วันพุธที่ 11 กันยายน 2556 เวลา 18:16 น.
“จริง ๆ แล้ว การเทียบระดับการศึกษามีมานานแล้วโดยกฎกระทรวงฉบับแรกออกมาตั้งแต่ปี 2546 แต่เป็นการเทียบทีละระดับ ขณะที่การเทียบแบบข้ามระดับได้นี้เพิ่งดำเนินการครั้งแรกปีนี้หลังจากแก้ไขกฎกระทรวงเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนมีทางเลือกมากขึ้น ส่วนใครควรจะเข้ารับการประเมินด้วยระบบใดนั้นต้องเป็นหน้าที่ของศูนย์เทียบระดับที่จะต้องให้คำแนะนำหรือแนะแนวการศึกษาให้ สำหรับอายุเฉลี่ยของผู้ที่เข้ารับการประเมินเทียบระดับจะอยู่ที่ 30-45 ปี ไม่มีคนที่อายุต่ำกว่า 20 ปีแน่นอน เพราะกฎกระทรวงเขียนไว้ชัดเจน คนที่ไม่มีอาชีพก็ไม่สามารถเข้ารับการเทียบระดับได้ รวมถึงเด็กที่ยังไม่มีรายได้ยังต้องพึ่งพาพ่อแม่ก็ไม่สามารถลงทะเบียนเทียบระดับได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นจะไม่มีศูนย์เทียบระดับใดรับผู้ที่ไม่มีคุณสมบัติเข้าโครงการอย่างแน่นอน”นายประเสริฐกล่าว
ที่มา เว็บไซต์เดลินิวส์
วันพุธที่ 11 กันยายน 2556 เวลา 18:16 น.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น